บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

การเวียนว่ายตายเกิดกับความผิดพลาดของนักปริยัติ





พระของศาสนาพุทธเถรวาทในประเทศไทย มีการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ พระปริยัติกับพระปฏิบัติ เมื่อก่อนนี้ พระปริยัติจะไม่ “กล้าหือ กับพระปฏิบัติ 

เหตุผลก็คือ พระปริยัติรู้ตัวเองดีว่าเป็น “เถรในลานเปล่า” ศึกษาศาสนาแค่การอ่าน ไม่สามารถปฏิบัติได้  ผลก็คือ ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เข้าใจ “ปฏิเวธ”

เมื่อวิทยาศาสตร์เก่าแบบนิวตัน กาลิเลโอ เดสคาร์ตเข้ามาในประเทศไทย  ความโด่งดังของวิทยาศาสตร์ ทำให้พระปริยัติ “แข็งข้อ” กับพระปฏิบัติ

เมื่อความรู้ทางโลกในวงการศาสนากว้างขึ้น  พระปริยัติจากที่ “แข็งข้อ” ก็เริ่ม “ดูถูก” พระปฏิบัติกันเลยทีเดียว

จะเห็นว่า พระปฏิบัติซึ่งส่วนใหญ่ไม่ศึกษาการศึกษาในระบบปัจจุบัน จะถูกผลักไปอยู่ชายขอบของวงการศาสนา 

ในเถรสมาคมซึ่งคงจะหมดสภาพไปเรื่อยๆ  ไม่มีพระปฏิบัติเป็นกรรมการอยู่เลย  มีแต่พระปริยัติทั้งสิ้น

พระปริยัติแข็งข้อถึงขนาดที่ว่า “ไม่เอาผลการปฏิบัติมาศึกษากันเลย”  พระที่เอาใจออกนอกศาสนาพุทธ เช่นพระพรหมคุณาภรณ์/พระธรรมปิฏก/พระประยุทธ์ถึงกับโจมตีผลการปฏิบัติเลยทีเดียว

ทั้งๆ ที่พระรูปนี้ ก็เขียนและพูดอยู่ตลอดว่า “การศึกษาศาสนาพุทธนั้น ต้องยึดหลักการปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ

ตัวพระรูปนี้เอง ไม่เคย “ปฏิบัติ” แล้วพระรูปนี้ จะมีความรู้ ความเข้าใจในทางศาสนาได้ซักแค่ไหน

มันก็แค่ อาศัยผ้าเหลืองกินไปวันๆ แต่ไม่ได้ช่วยสืบต่อศาสนาเลย แม้แต่นิดเดียว มีแต่ทำลายศาสนา

ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมวิพากษ์พระพรหมคุณาภรณ์/พระธรรมปิฏก/พระประยุทธ์ด้วยความรุนแรงถึงขนาดนั้น

ผมขอบอกว่า “แค่นั้นยังน้อยไป” กับความผิดของพระรูปนี้

1- พระรูปนี้ ไม่เชื่อว่า “นรก-สวรรค์” มีจริง
2- พระรูปนี้ ไม่เชื่อว่า “อิทธิปาฎิหาริย์” มีจริง
3- พระรูปนี้ ไม่เชื่อว่า “การเวียนว่ายตายเกิด” มีจริง

แล้วพระรูปนี้ จะบวชไปทำไม  ทำไมไม่สึกไปเสีย

กลับมาเข้าเรื่อง ภาพด้านบนนั้น กำลังเป็นข่าวอยู่ในปัจจุบัน คือ เด็กฝรั่งคนหนึ่ง ท่านระลึกชาติได้ว่า เมื่อก่อนเคยเป็นดาราภาพยนตร์

การเวียนว่ายตายเกิดที่นักวิทยาศาสตร์เขาศึกษา และนำมาเผยแพร่นั้น มีมานานแล้ว เท่าที่รู้จักกันในประเทศไทยก็ เช่น ดร. เอียน สตีเวนสัน กับ ดร. ไบรอัน ไวส์” เป็นต้น

เรื่องการเวียนว่ายตายเกิดนี้ สนับสนุนคำสอนของพระพุทธศาสนาได้ดีมาก เพราะ เป็นผลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์

ขอให้ท่านผู้อ่านสังเกตดูว่า พระปริยัติทั้งหลายทั้งปวงเคยเอาเรื่องนี้มาขยายความต่อหรือไม่  นอกจากจะไม่ขยายความต่อแล้ว พระปริยัติทั้งหลายทั้งปวงยังหาว่าเรื่องดังกล่าวไม่จริงเสียด้วย

ความโง่ของพระปริยัติทั้งหลายทั้งปวงก็คือ  นักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขียนไปนั้นมี 2 กลุ่ม 

กลุ่มหนึ่งคือ วิทยาศาสตร์เก่าแบบนิวตัน กาลิเลโอ เดสคาร์ต ความรู้ของนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ (ซึ่งตอนนี้ ตกกระป๋องไปแล้ว) ขัดกับหลักของศาสนาพุทธ

อีกกลุ่มหนึ่งคือ นักจิตวิทยา เช่น ดร. เอียน สตีเวนสัน กับ ดร. ไบรอัน ไวส์ เป็นต้น ความรู้ของนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ สนับสนุนหลักของศาสนาพุทธ

พระปริยัติเลือกเชื่อวิทยาศาสตร์ ที่ความรู้ขัดกับหลักของศาสนาพุทธ

มีคนเอาเรื่องนี้ ไปตั้งกระทู้ชื่อ “Reincarnation - เด็กอเมริกันวัย 10 ขวบระลึกชาติได้ว่าเคยเป็นดาราฮอลลิวู้ด” ในเว็บพันธุ์ทิพย์

มาดูตัวอย่างการให้ความเห็นของพวกสมองหมา ปัญญาควายที่ไม่เชื่อเรื่องนี้กัน

ข่าวลงปุ๊ป ป่านนี้ติ่งทั้งหลายเชื่อกันสนิทใจเข้าไปใหญ่ แถมเป็นสื่อต่างชาติอีก คราวนี้กู่ไม่กลับแล้ว

ทำไมน้อ พอระลึกชาติได้ เล่นเรื่องตัวเองล้วนๆ เลย  พอลองถามเรื่องเลข ข้อสอบต่างๆ ดูสิ ใบ้กันหมด คาดว่าสมัยก่อนคงไม่ได้เรียนหนังสือมั้ง

สมมุติข่าวนี้เป็นความจริงนะ

การนั่งสมาธิไม่ได้ช่วยอะไรเลยครับ เพราะเด็กคนรู้ไม่เคยนั่งสมาธิ หรือทำบุญ เป็นคริสตเตียนครับ ไม่มีเรื่อง บาป บุญ นั่งสมาธิเลยครับ ไงละ เอาอะไรมาแย้งทีครับ รออยู่

ไอ้นี่ สมองหมา ปัญญาควายตัวจริงเสียงจริง แต่ความรู้ของมันคงไม่มากนัก  ไม่รู้ระบบคิดของมันเป็นยังไง

การระลึกชาตินั้น ธรรมชาติของสิ่งนี้ก็คือ จำได้ว่า ชาติก่อนเป็นใคร  มันเสือกจะไปถามเรื่องเลข เรื่องข้อสอบ   ควายอย่างมันนี้หายาก

อีกเรื่องหนึ่งคือ เสือกโจมตีเรื่องการปฏิบัติธรรมไปเลย 

การระลึกชาติแบบนี้ เป็นเรื่องบังเอิญ ไม่ใช่เรื่องปกติ  ส่วนใหญ่จะเกิดกับคนที่ตายแล้วเกิดเร็ว  การระลึกชาติที่เป็นมาตรฐานในวิชชา 3 ยังต้องใช้การปฏิบัติธรรมอยู่

ความเห็นที่ว่านั้น การศึกษาไม่น่าจะเกิน ม. 6  คงเป็น ม. 6 โง่ๆ ด้วย

มาดูการให้ความเห็นของพระรูปหนึ่งที่ใช้ชื่อ “เตชปัญโญ ภิกขุ” กันบ้าง

อย่าเชื่อ เพียงเพราะเหตุว่ามีคนเขาบอกมา หรือ เพียงเพราะว่ามีคนเขากำลังลือกันอยู่อย่างกะฉ่อน ไม่รู้จักใช้ปัญญากันเลย ไม่สมกับเป็นชาวพุทธเลย

นี่เป็นตัวอย่างที่ดีของพระปริยัติทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งเชื่อวิทยาศาสตร์ที่ขัดกับหลักศาสนาพุทธ  แกจึงแถไปหากาลามสูตรแบบตรรกะเพี้ยน

ขอให้ดูคำบรรยายใต้ภาพด้านบน ผมเอามาลงอีกที ไม่รู้ว่า “เตชปัญโญ ภิกขุ” อ่านภาษาอังกฤษออกหรือเปล่า  สันนิษฐานว่า “คงอ่านไม่ออก”

Dr Tucker, associate professor of psychiatry at the University of Virginia, has written in his upcoming book about the experiences of American children who he believes have been reincarnated

เรื่องนี้ มาจากหนังสือของ Dr Tucker ของมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย  และนักข่าวต่างๆ เขาก็สนใจทำข่าวกันมากมาย

อาจารย์มหาวิทยาลัย กับผู้สื่อข่าวอเมริกันนั้น  มันเชื่อถือไม่ได้เลยหรือไง  หลวงพี่ “เตชปัญโญ ภิกขุ”

ท่านไม่เชื่อเรื่องนี้ ท่านก็ตะแบงไปเลย  ขอให้ไปตะแบงในนรกต่อก็แล้วกัน






ขันธ์ 5 กับความโง่ของพุทธเชิงวิชาการ




วันนี้ มาวิพากษ์วิจารณ์ความโง่ในระดับมากถึงมากที่สุดของพุทธเชิงวิชาการในสังคมไทยกัน ใครที่อ่านแล้ว ความโง่จะลดลงไปเยอะ

ขอเอากระทู้ชื่อ “ขันธ์5 ขอความรู้หน่อยค่ะ” เป็นการเกริ่นนำในการเขียนบทความ  กระทู้ที่ว่า มีเนื้อหาดังนี้

ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ยังไม่ค่อยเข้าใจคำว่า รูป กับสังขารค่ะ. แตกต่างกันยังไง. ผู้รู้ช่วยอธิบายหน่อยค่ะ

กระทู้นี้ เป็นหลักฐานให้เห็นถึงความสมองหมา ปัญญาควายของคนในห้องศาสนา พันธุ์ทิพย์ได้เป็นอย่างดี 

นี่หมายถึงทั้งคนตั้งกระทู้ คนที่แสดงความคิดเห็น รวมถึงคนอ่านส่วนใหญ่ด้วย

กระทู้นี้ คนอ่านงงกับคำว่า “รูป” กับ “สังขาร” ว่ามันแตกต่างกันยังไง เพราะ ทั้ง 2 คำดังกล่าว แปลว่า “ร่างกาย” ได้ทั้งคู่ 

ในเมื่อ แปลว่า “ร่างกาย” ได้ทั้ง 2 คำ  “สังขาร/ร่างกาย” จะเป็นส่วนหนึ่งของ “รูป/ร่างกาย” ได้ยังไงอีก 

เมื่ออ่านเฉพาะกระทู้ ก็ดูดี  คนตั้งกระทู้ก็มีเหตุผลอันชอบธรรมที่จะสงสัยได้  แต่บรรดาความคิดเห็นทั้งหมด มันมีแต่ความคิดเห็นที่สมองหมา ปัญญาควายทั้งสิ้น

อ่านแล้วก็ไม่ได้รู้อะไรเพิ่มขึ้น คนตั้งกระทู้ดันไปเลือกความคิดเห็นหนึ่งเป็นความคิดเห็นดีเด่น 

ความคิดเห็นดีเด่นดังกล่าว มันไม่ตอบคำถามเลย และไม่ถูกต้องด้วย คนให้ความคิดเห็นมันก็เป็น “ควาย” ตัวหนึ่งในคอกควายในพันธุ์ทิพย์ของผม  ใครสนใจก็ไปอ่านเอาเอง

คำตอบเฉพาะคำถามของกระทู้นี้ก็คือ  คำๆ หนึ่งนั้น มีหลายความหมาย  ลองไปเปิดพจนานุกรมดูก็เข้าใจแล้ว

ยิ่งเป็นคำยืมจากภาษาบาลี-สันสกฤตด้วยแล้ว  ความหมายยิ่งสับสนเข้าไปอีก

กล่าวคือ ความหมายเดิมในพระไตรปิฎกเป็นความหมายหนึ่ง  ความหมายใหม่ในภาษาไทยเป็นอีกความหมายหนึ่ง  และความหมายใหม่ในภาษาไทยนั้น ก็ไม่ได้มีความหมายเดียว

คำว่า “สังขาร” ในขันธ์ 5 นั้น แปลว่า “คิด”  ตรงนี้ไม่ได้แปลว่า “ร่างกาย”  ขอให้ดูภาพผู้หญิงด้านบนประกอบ

ต่อไปมาดูความสมองหมา ปัญญาควายของพุทธเชิงวิชาการกัน  เอาความคิดเห็นของควายในพันธุ์ทิพย์ที่ว่าเป็นตัวอย่าง

เคยตอบไว้เมื่อนานมาแล้ว ไม่เป๊ะ แต่พอจะใช้เทียบเคียง  เอาแบบเบสิคก่อนแล้วกัน

รูปนาม คือ ร่างกายจิตใจ รวมเรียกว่า ขันธ์ทั้ง5 แบ่งเป็นรูป 1 นาม 4
1 รูป คือตัวร่างกายทั้งหมด
นามมี 4 อย่างคือ
2 เวทนา คือ ความรู้สึกตอนมีสิ่งมากระทบ
3 สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้
4 สังขาร คือ ความปรุงแต่ง
5 วิญญาณ คือ ตัวที่มารู้
งงใช่ไหมครับ

ข้อเขียนนี้ เป็นข้อเขียนดูถูกคนอ่านเป็นอย่างมาก มันเป็นการดูถูกเหยียดหยามที่น่ารังเกียจมาก มันคิดว่า คนอ่านมีระดับมันสมองไม่ฉลาดเท่ากับควายอย่างมัน

ผมจะเปรียบเทียบกับข้อเขียนของผมก็แล้วกัน  

เวลาผมจะด่าใคร ผมก็ด่าเอาตรงๆ ว่า “มึงมันโง่แบบสมองหมา ปัญญาควาย” แต่ผมจะไม่ “ยกตนข่มท่าน” อย่างข้อเขียนข้างต้น

ข้อเขียนของไอ้ควายตัวนี้ มันเป็นข้อความที่คิดว่า คนอ่านมีความรู้น้อยแบบโง่กว่าตัวมันเอง มันไม่ได้มาต้องการให้ความรู้คนอ่าน  มันต้องการเอาสำเร็จความใคร่ในกิเลสของมันเท่านั้น

ผมจะด่าใครด้วยคำศัพท์ในระดับไหนก็ตาม  ผมมีเจตนาที่จะให้ความรู้กับคนอ่าน  ถ้ามึงอ่านแล้วเข้าใจ มึงก็หายโง่  คำด่าก็หมดความหมายไปโดยอัตโนมัติ

ไอ้ควายตัวนี้ นอกจากจะ “ยกตนข่มท่าน” มันก็ยังมั่วอีกด้วย  ขอให้ดูความหมายของ ขันธ์ 5 จากวิกิพีเดีย ด้านล่าง

ขันธ์ แปลว่า กอง, หมวด, หมู่, ส่วน ในทางพุทธศาสนาหมายถึงร่างกายของมนุษย์ คือแยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ ตามสภาพได้ 5 ส่วน หรือ 5 ขันธ์ คือ

รูป ได้แก่ ส่วนที่ผสมกันของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เช่น ผม หนัง กระดูก โลหิต
เวทนา ได้แก่ ระบบประมวลความรู้สึกว่า ชอบหรือไม่ชอบ และเฉยๆ
สัญญา ได้แก่ จำสิ่งที่ได้รับและรู้สึกนั้นๆ
สังขาร ได้แก่ ระบบคิดปรุงแต่ง แยกแยะสิ่งที่รับรู้สึกและจำได้นั้นๆ
วิญญาณ ได้แก่ ระบบรู้สิ่งนั้นๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ขอให้พิจารณาคำศัพท์ของ “เวทนา” เป็นกรณีพิเศษ  ขอให้ท่านผู้อ่านลองคิดดูซิว่า มันสอดคล้องกับ “สัญญา สังขาร วิญญาณ” หรือไม่

เพื่อให้เข้าใจกันง่ายๆ มากขึ้น ขอเปรียบเทียบกับคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำเลย ดังนี้

เวทนา ได้แก่ เห็น
สัญญา ได้แก่ จำ
สังขาร ได้แก่ คิด
วิญญาณ ได้แก่ รู้

ท่านผู้อ่านลองคิดดูว่า “เวทนา” ควรจะแปลเป็นภาษาไทยว่า “ระบบประมวลความรู้สึกว่า ชอบหรือไม่ชอบ และเฉยๆ” หรือ “เห็น

การแปล “เวทนา” เป็น “เห็น” นั้น สอดคล้องกับ จำ คิด รู้ ได้เป็นอย่างดี 

การที่พุทธเชิงวิชาการแปล “เวทนา” เป็นภาษาไทยว่า “ระบบประมวลความรู้สึกว่า ชอบหรือไม่ชอบ และเฉยๆ” จึงแสดงให้เห็นถึงความเป็นสมองหมา ปัญญาควายของบุคคลกลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี

ประเด็นสำคัญอย่างยิ่งก็คือ มันแสดงให้เห็นว่า พุทธเชิงวิชาการ ไม่ได้ “รู้” และ “เข้าใจ” ศาสนาพุทธกันเลย  เพราะ เรื่องง่ายอย่างนี้ มันยังจำกันมาผิดๆ  เรื่องลึกๆ ระดับกิเลส อนุสัย พวกนี้จะเข้าใจได้อย่างไร

ที่นี้มาตีความกันต่อ เพราะ ยังไม่มีใครในสายวิชาธรรมกายจะวิเคราะห์อย่างที่ผมจะเขียนไปนี้มาก่อน

อายตนะภายในนั้น ไม่ได้มี “ตา” อย่างเดียว  ยังมี หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อีก กล่าวคือ นอกจากเห็นแล้วยังมี ได้ยิน ได้กลิ่น รับรส รับสัมผัส รับอารมณ์ อีกด้วย

ทำไม หลวงพ่อวัดปากน้ำไม่กล่าวถึง ได้ยิน ได้กลิ่น รับรส รับสัมผัส รับอารมณ์

ตรงนี้มีคำอธิบายอย่างนี้

ในทางวิชาธรรมกายนั้น  เป็นการศึกษาที่เน้นไปที่ส่วนละเอียดสุด ตรงสุด ไม่อ้อม ไม่วกวน ในการศึกษาระดับนั้น  จะใช้การเห็นกับการรู้เป็นหลัก  ซึ่งตรงกับภาษาบาลีว่า “ญาณทัสสนะ”

ขอยกตัวอย่างการปฏิบัติธรรมในหัวข้อกายในกาย ของสติปัฏฐานสูตร 

ขณะที่สายยุบหนอพองหนอ เดินไปเดินมาจนระยะทางเท่าเส้นรอบโลก ก็ยังไม่เข้าใจว่า กายในกายเป็นอย่างไร  วิชา 18 กายซึ่งเป็นวิชาระดับอนุบาลของวิชาธรรมกายก็สามารถเข้าใจได้ดีในระดับหนึ่งแล้ว

ดังนั้น วิชาธรรมกายที่เน้นการศึกษาไปที่กายละเอียดต่างๆ ซึ่งในระดับมีเพียง “เห็น” กับ “รู้” เท่านั้น  ได้ยิน ได้กลิ่น รับรส รับสัมผัส รับอารมณ์  จึงไม่มีความสำคัญ

ขันธ์ 5 ในระดับของกายเนื้อ  เวทนาซึ่งหมายความถึง เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รับรส รับสัมผัส รับอารมณ์

โดยสรุป

ขันธ์ 5 ซึ่งเป็นเรื่องง่ายๆ พุทธเชิงวิชาการของไทยยังไม่รู้ ไม่เข้าใจ  คนที่ศึกษาอยู่ก่อน เข้าใจผิดไว้อย่างไร  พวกนี้ก็จำมาผิดๆ อย่างนั้น

ขันธ์ 5 คือ รูป + นาม [เห็น-จำ-คิด-รู้]  พุทธเชิงวิชาการก็จำแบบผิดๆ กันมาว่า ขันธ์ 5 คือ รูป + นาม [ระบบประมวลความรู้สึกว่า ชอบหรือไม่ชอบ และเฉยๆ-จำ-คิด-รู้]  

ที่เป็นความโง่บวกกับกรรมอันหนักหนาสาหัสก็คือ หลวงพ่อวัดปากน้ำมาสอนความถูกต้องตรงเผงให้รู้ให้เข้าใจ  ทะลึ่งมาโจมตีคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำเสียอีก

ความโง่ดังกล่าว จึงสร้างกรรมอันหนักหนาสาหัสให้กับพุทธเชิงวิชาการ และส่งผลให้พุทธเชิงวิชาการลงนรกกันเป็นส่วนใหญ่






ภิกษุสองสหาย


ชื่อของบทความนี้ ดูแปลกๆ ในภาษาไทย เพราะ คำว่า “สหาย” ไม่น่าจะเป็นลักษณะนามได้  ชื่อของบทความน่าจะเป็น “ภิกษุ 2 รูป”

อย่างไรก็ดี  ข้อความที่ว่า “ภิกษุสองสหาย” นั้น รู้จักกันดีในแวดวงของพุทธวิชาการ ผมก็เลยใช้ชื่อนั้นตาม  เพราะ ถ้าไปใช้ชื่ออื่น คนอ่านอาจจะนึกว่าเป็นคนละเรื่องกัน

เรื่องนี้เป็นเรื่องแปลกอย่างหนึ่ง คือ ผู้ที่นำมาเผยแพร่มักจะเป็นพุทธวิชาการหรือนักปริยัติ ไม่ใช่พระนักปฏิบัติ

ผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า “มันแปลกในเรื่องใด” เพราะ นักปริยัติเขาก็มีหน้าที่อย่างนั้น คือ นำคำสอนของพระพุทธเจ้าออกมาเผยแพร่

ขอให้ผู้อ่านอ่านไปก่อนก็แล้วกัน ผมจะเฉลยในตอนท้าย เรื่องนี้นำมาจาก พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑-หน้าที่ 209

เรื่องกล่าวถึงว่า มีชาวเมืองสาวัตถี 2 คน ชื่อ วิปัสสกะกับ คันถิกะ ทั้งสองคนเป็นเพื่อนกัน เมื่อได้ฟังธรรมะจากพระพุทธเจ้าแล้วเกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า ถึงกับออกบวชทั้งสองคน

พระวิปัสสกะบวชแล้ว ก็ออกป่าประพฤติตามพระปฏิบัติธรรม ไม่นานก็บรรลุพระอรหันต์ วิปัสสกภิกษุ ผู้นี้ต่อมาก็มีผู้มาเรียนด้วย และสำเร็จพระอรหันต์ตามเป็นจำนวนมาก

พระคันถิกะบวชแล้ว ไม่ออกป่า แต่เลือกเรียนปริยัติอยู่ในเมือง ร่ำเรียนพระไตรปิฎกจนเป็นผู้เชี่ยวชาญ ก็อย่างเช่นพุทธวิชาการหรือนักปริยัติในเมืองไทยนี้แหละ  พระคันถิกะก็มีศิษย์ของตนเองเป็นจำนวนมาก

พระอรหันต์ผู้เป็นศิษย์ของพระวิปัสสกะ เมื่อได้บรรลุมรรคผลแล้ว ก็มักจะลาอาจารย์เพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้ากับอสีติสาวก  พระวิปัสสกะก็สั่งให้ไปเยี่ยมพระคันถิกะเพื่อนของท่านด้วย

ในอรรถกถามีข้อความดังนี้

พระเถระกล่าวว่า “ไปเถิด ผู้มีอายุ, ท่านทั้งหลายจงถวายบังคมพระศาสดา นมัสการพระมหาเถระทั้ง ๘๐ รูป ตามคำของเรา, จงบอกกะพระเถระผู้สหายของเราบ้างว่า ‘ท่านอาจารย์ของกระผมทั้งหลาย นมัสการใต้เท้า’” ดังนี้แล้วส่งไป.

ภิกษุเหล่านั้นไปสู่วิหาร ถวายบังคมพระศาสดาและนมัสการพระอสีติมหาเถระแล้ว ไปสู่สำนักพระคันถิกเถระ เรียนว่า “ใต้เท้าขอรับ ท่านอาจารย์ของพวกกระผม นมัสการถึงใต้เท้า”

ก็เมื่อพระเถระนอกนี้ถามว่า “อาจารย์ของพวกท่านนั่นเป็นใคร?” ภิกษุเหล่านั้นเรียนว่า “เป็นภิกษุผู้สหายของใต้เท้า ขอรับ.”

พระอรหันต์ผู้เป็นศิษย์ของพระวิปัสสกะคงมีเป็นจำนวนมากเหมือนกัน เพราะ เมื่อใดมีพระอรหันต์ผู้เป็นลูกศิษย์ขออนุญาตเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า  พระวิปัสสกะก็สั่งให้ไปเยี่ยมพระคันถิกะทุกครั้ง

พระคันถิกะก็ชักเริ่มสงสัยว่า ทำไมพระวิปัสสกะผู้อยู่ป่าจึงมีลูกศิษย์มากเหมือนกัน พระวิปัสสกะเอาความรู้อะไรไปสอนศิษย์เหล่านั้น  ก็คิดอยู่ในใจว่า เมื่อไหร่เพื่อนมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าก็จะถามดู

ต่อมาพระวิปัสสกะก็มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และไปพักอยู่กับพระคันถิกะผู้เป็นสหาย  พระคันถิกะก็สบโอกาสที่จะซักถาม

พระพุทธเจ้าทรงทราบเหตุการณ์แล้ว สงสารพระคันถิกะเพราะจะตกนรกถ้าไปซักถามพระวิปัสสกะ ซึ่งเป็นพระอรหันต์ไปแล้ว  ก็คงจะซักถามด้วยความหลงตัวเองว่า เรียนพระไตรปิฎกมาเยอะ ก็คงประมาณพระปริยัติในเมืองไทยที่ดูถูกพระปฏิบัติที่อยู่ตามป่านั่นแหละ

การซักถามด้วยความดูถูกแบบนั้น จะส่งผลให้ตกนรกได้ พระพุทธเจ้าจึงทรงไปเยี่ยมเยียนพระภิกษุสองสหายนั้น

ในอรรถกถามีข้อความดังนี้

จึงตรัสถามปัญหาในปฐมฌานกะคันถิกภิกษุ ครั้นเมื่อเธอทูลตอบไม่ได้, จึงตรัสถามปัญหาในรูปสมาบัติและอรูปสมาบัติทั้งแปด ตั้งแต่ทุติยฌานเป็นต้นไป พระคันถิกเถระก็มิอาจทูลตอบได้แม้ข้อเดียว พระวิปัสสกเถระนอกนี้ ทูลตอบปัญหานั้นได้ทั้งหมด.

ทีนั้น พระศาสดาตรัสถามปัญหาในโสดาปัตติมรรคกับเธอ. พระคันถิกเถระก็มิสามารถทูลตอบได้. แต่นั้น จึงตรัสถามกะพระขีณาสพเถระ. พระเถระก็ทูลตอบได้.

สุดท้ายเลย อรรถกถาเขียนไว้ดังนี้

“หากว่า นรชนกล่าวพระพุทธพจน์อันมีประโยชน์เกื้อกูลแม้มาก (แต่) เป็นผู้ประมาทแล้ว ไม่ทำ (ตาม) พระพุทธพจน์นั้นไซร้,

เขาย่อมไม่เป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผลเหมือนคนเลี้ยงโคนับโคทั้งหลายของชนเหล่าอื่น ย่อมเป็นผู้ไม่มีส่วนแห่งปัญจโครสฉะนั้น,

หากว่า นรชนกล่าวพระพุทธพจน์อันมีประโยชน์เกื้อกูล แม้น้อย (แต่) เป็นผู้มีปกติประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมไซร้,

เขาละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว รู้ชอบ มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว หมดความยึดถือในโลกนี้หรือในโลกหน้า, เขาย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล”

ก่อนหน้าข้อความดังกล่าว มีข้อความที่เป็นหัวข้อว่า “พูดมากแต่ไม่ปฏิบัติก็ไร้ประโยชน์”

เรื่องภิกษุสองสหายนี้ เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับนักปริยัติที่ไม่ยอมปฏิบัติธรรม เพราะเข้าข่าย “พูดมากแต่ไม่ปฏิบัติก็ไร้ประโยชน์”

ประเด็นที่เป็นเรื่องแปลกก็คือ เรื่องภิกษุสองสหาย อรรกถาจารย์เขียนเพื่อเตือนตัวเอง เตือนนักปริยัติ  เตือนพุทธวิชาการว่า ที่ทำอยู่นั้น มันประมาท ควรที่จะปฏิบัติธรรม

ปรากฏว่า นักปริยัติก็เอามาเผยแพร่ต่อ  แต่ก็ไม่ยอมปฏิบัติธรรม มันจึงเป็นเรื่องแปลกสำหรับผม ถ้าว่า นักปฏิบัติธรรมเป็นผู้นำเรื่องนี้มาเผยแพร่ ผมจะไม่ประหลาดใจเลย..